ในเวลาที่หม่นเศร้า ชีวิตก็ยังเป็นของเรา

เพราะเคยอ่านหนังสือของคิมรันโดทั้ง 4 เล่ม ไม่ว่าจะเป็น “เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด” “พันครั้งที่หวั่นไหวกว่าจะเป็นผู้ใหญ่” “แด่งานของฉัน แด่วันพรุ่งนี้” และ “จงหางานที่มีแต่คุณเท่านั้นที่ทำได้” ฉันจึงไม่พลาดผลงานเล่มล่าสุดของเขาที่แปลโดยสำนักพิมพ์สปริงบุ๊กส์ที่ชื่อ “ในเวลาที่หม่นเศร้า ชีวิตก็ยังเป็นของเรา” เล่มนี้

แก่นของหนังสือเล่มนี้คล้าย 4 เล่มแรกคือพูดถึงการเห็นคุณค่าและการเชียร์อัปตัวเอง การมองโลกในแง่งามท่ามกลางความหม่นเศร้าและสิ้นหวังของชีวิต มุ่งปลอบโยน สร้างแรงบันดาลใจ และเติมไฟฝันของผู้อ่านให้ลุกโชนในเวลาที่ท้อแท้ หม่นเศร้า หมดหวัง หรือขาดความมั่นใจ, นัยว่าตราบที่ยังมีลมหายใจ ชีวิตก็ยังมีหวังเสมอ

ไม่เพียงแต่ปลอบประโลมใจเราให้ฮึดสู้และรู้สึกบวกกับการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่คิมรันโดยังกะเทาะความเป็นมนุษย์ในยุคดิจิทัลอย่างตรงไปตรงมาด้วย ความตอนหนึ่งที่ฉันชอบ เพราะฉันคือคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในโซเชียลมีเดียและเสียเวลากับมันไม่น้อยในแต่ละวัน เชื่อว่าเพื่อนในลิสต์ของฉันหลายคนก็คงคล้ายกัน, เขาเขียนว่าอย่างนี้

“การได้รับการยอมรับผ่านโซเชียลมีเดียก็เหมือนกับความหิวโหยยามบ่ายที่ทำให้เรายอมกินอาหารขยะประทังชีวิต แต่พอร่างกายรับสารสังเคราะห์ต่างๆเข้าไปก็จะเริ่มติดรสชาติเหล่านี้ แม้รู้ดีว่ามันไม่มีสารอาหารมากพอเมื่อเทียบกับปริมาณ และไม่ต่างจากการนอนแผ่บนโซฟา หยิบมันฝรั่งทอดกรอบเข้าปาก เสพติดชิ้นแล้วชิ้นเล่า เป็นการสนองความต้องการที่ได้มาง่ายๆ และดับสูญลงอย่างรวดเร็ว”

“เมื่อเราเลือกจะแสดงด้านที่ดีงามให้คนอื่นเห็นผ่านโซเชียลมีเดีย ‘การโอ้อวด’ นี้จะทำให้เรากลายสภาพเป็นนักกายกรรมที่เดินทรงตัวอยู่บนเส้นเชือก ต้องประคองตัวตนในโลกแห่งความจริงกับตัวตนที่แสดงให้ผู้อื่นเห็นผ่านโซเชียลมีเดียเอาไว้ มีแต่ความหวั่นเกรงว่าไม่รู้จะตกลงไปด้านล่างเมื่อไหร่ แต่ในใจก็ยังอยากเป็นที่สนใจของผู้อื่น เป็นนักกายกรรมที่เสี่ยงตายและน่าสงสารมากในเวลาเดียวกัน”

“…ในโลกออนไลน์อาจมีเพื่อนแนะนำร้านอาหารชื่อดังให้คุณมากกว่าหนึ่งหมื่นคน แต่ถ้าในชีวิตจริงไม่มีใครเลยยื่นไหล่ให้คุณพักพิงหรือยอมรับฟังความกังวลใจของคุณในค่ำคืนนี้ ‘การกดไลค์’ ก็แทบไม่มีความหมาย”
“…จงเป็นที่ยอมรับในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่โลกเสมือนในสมาร์ตโฟน

 

คุยกันตรงนี้เลยค่ะ

You might also like More from author