ดั่งดวงหฤทัย นิรันดร์นั้นนานนัก แต่รักนี้นานกว่านั้น

เพลงประกอบละครดั่งดวงหฤทัยนั่งบรรจงเรียบเรียงภาพสวย ๆ กับเพลงเพราะ ๆ
จากละคร “ดั่งดวงหฤทัย” มาฝากเป็นของขวัญปีใหม่ชิ้นเล็ก ๆ

 

เผอิญนวนิยาย “ดั่งดวงหฤทัย” เป็นนวนิยายเรื่องที่รักมากเรื่องหนึ่ง
เผอิญคนเขียนเพลงละครเพลงนี้ คือพี่ชมพู สุทธิพงษ์ วัฒนจัง 
รุ่นพี่ที่เขียนเพลงละครได้สุดยอดโดนใจเสมอมา ไม่ว่าจะกี่เวอร์ชั่น
เผอิญน้ำเสียงนุ่ม ๆ ของ น้องเวียร์ ศุกลวัฒน์ หรือ “เจ้าหลวงรังสิมันต์” เวอร์ชั่นใหม่นี้
ถ่ายทอดความรักของ “รังสิมันต์” ที่มีต่อ “ทรรศิกา” ให้ฉันซึ้งไปด้วยได้ค่อนข้างมาก


และที่สำคัญที่ทำให้ “ดั่งดวงหฤทัย” เป็นละครเรื่องโปรดของฉันในตอนนี้
ก็เพราะ..เจ้าหลวงรังสิมันต์ และเจ้าหญิงทรรศิกา ในเวอร์ชั่น 2007
ที่แสดงโดย เวียร์ ศุกลวัฒน์ และ ขวัญ อุษามณี
เป็น “รังสิมันต์” และ “ทรรศิกา” ที่ตรงกับจินตนาการของฉันที่สุด

ถึงแม้บทโทรทัศน์ จะทำออกมามีสีสันแตกต่างจากหนังสือแทบจะคนละสี กุ๊กกิ๊ก หวานแหวว
เติมเริ่องราวตามประสาความเป็นละคร  ออกมาจนเดาไม่ออกมาจะไปยังไงต่อ
แต่ฉันก็ยังชอบความเป็น “ดั่งดวงหฤทัย” ที่ซ่อนเสน่ห์ไว้ในตัวนักแสดงนำทั้งคู่อยู่ดี

วันแรก ๆ ก็ออกจะรู้สึกแปลกๆ ตามประสาคนรักบทประพันธ์
โดยเฉพาะ“ดั่งดวงหฤทัย” บทประพันธ์ของ “ลักษณวดี” หรือ “ทมยันตี” ที่หนอนหนังสือทุกคนรู้จักดี
แฟนพันธ์แท้อย่างฉัน กลั้นใจดูหลายฉากหลายตอนแบบงง ๆ กับบทโทรทัศน์ที่ดูขาด ๆ เกิน ๆ
คำพูดที่ไม่ค่อยต่อเนื่อง เหตุการณ์เพิ่มเติมที่ดูไม่ค่อยมีเหตุมีผล การต่อปาก ต่อคำ เรื่อยเปื่อย
ที่หลุดโลกจินตนาการจากความลึกซึ้งของความเป็น“ดั่งดวงหฤทัย” อย่างสุดขั้ว

แต่หลังจากตามดูมาจนครบอาทิตย์แรก
ฉันก็ค้นพบ ความน่ารักของ “ดั่งดวงหฤทัย” ในเวอร์ชั่นใหม่

คงเป็นโชคดีของแฟนพันธ์แท้อย่างฉัน ที่ยังคงหาความสุขจากการดูละคร
ที่มีต้นกำเนิดจากบทประพันธ์ได้อยู่บ้าง ทั้ง ๆ ที่ละครบางเรื่องก็ทำหลุดบทประพันธ์ไปจนแทบจะหาต้นตอไม่เจอ

อาจจะเพราะฉันชอบแอบถามนักเขียนที่เป็นเจ้าของบทประพันธ์ที่โดนเอาเรื่องสุดรักสุดหวงไปยำใหญ่อยู่บ่อย ๆ
แล้วก็ค้นพบว่าทุกท่านล้วนแล้วแต่เข้าใจ ความเป็น “ทีวี” บ้านเราหรือว่ากันตรงๆ
ก็คงต้องบอกว่าปลงและขำ ๆ กันไปหมดซะแล้วกับ “ละครทีวี” บ้านเรา

เพราะ “ละครทีวี” วันนี้ก็เป็นเพียง สินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องผลิตขึ้น
เพื่อให้คนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องการดูละครเพื่อความบันเทิง
เกิดอาการติดตามและตามติดชนิดไม่เปลี่ยนช่องหนี
เพราะฉะนั้นเทคนิคการเสนอทั้งภาพและเสียง
ไม่มีทางที่จะเป็นไปตามความละเมียดละไมของบทประพันธ์ได้แน่นอน

โดยเฉพาะบทประพันธ์ของ “ลักษณวดี” หรือ “ทมยันตี”
ที่ถือเป็นบทประพันธ์โรแมนติคชั้นปราบเซียนของคนทำละครทีวี

ฉันจึงไม่แปลกใจเท่าไร ที่เรื่องราวรักโรแมนติค อ่อนหวานละเมียดละไม ซาบซึ้งประทับใจ อย่าง “ดั่งดวงหฤทัย”
แปลงร่างมาเป็น ละครรัก กุ๊กกิ๊ก น่าหยิกน่าหยอก ไปทั้งพระเอกนางเอก รวมทั้งตัวละครย่อยๆ เกือบทั้งเรื่อง

แต่ไม่ว่าบทโทรทัศน์ จะเลยเถิดไปถึงไหน
ฉันก็ยังชอบ “รังสิมันต์” และ “ทรรศิกา” ในแบบ เวียร์ ศุกลวัฒน์ และขวัญ อุษามณี อยู่ดี

ความจริงก่อนดูละคร ฉันว่านักแสดงสองคนนี้ค่อนข้างสมวัย สมบุคลิก
และใกล้เคียงกับบทประพันธ์ค่อนข้างมาก ( ตามจินตนาการของฉัน ของคนอื่นไม่ทราบนะ )
ต้องบอกว่าตรงใจมากกว่าเวอร์ชั่นก่อนซะด้วยซ้ำ
( คุยกับแฟนพันธ์แท้อีกคน เขาว่าน้องขวัญไม่ตรง เพราะบุคลิกเธอเด็กไป
  อันนี้คงตีความตามบรรทัดของหนังสือต่างกัน แล้วไปเนอะ อิสระทางจินตนาการ ตัวใครตัวมันอยู่แล้ว )

ถึงแม้ “รังสิมันต์” วันนี้จะผิวเข้มเป็นคนละโทนกับในหนังสือ แต่ก็เรื่องเล็ก!
กาสิกยุคนี้ เมื่อโดนกระแสโลกร้อนเข้า แดดก็คงแรงกว่ายุคก่อนไปซักสิบเท่า
ก็ไม่น่าแปลก ถ้า “รังสิมันต์” ยุคโลกร้อน จะเข้มกว่า บทประพันธ์เมื่อสิบปีที่แล้ว หรือไม่จริง ?
แค่รูปร่างสูงเป็นกำแพง ขี่ม้าได้เท่ และร้องเพลงได้เพราะ ตามบทประพันธ์เป๊ะๆ แค่นี้ก็สมใจฉันที่สุดแล้ว

ตั้งแต่ครั้งแรกที่อ่านนวนิยายเรื่องนี้ …

ภาพ “รังสิมันต์” ของฉัน ไม่ใช่กษัติร์ย์ ที่สุขุมเยือกเย็น สง่างาม เต็มไปด้วยวุฒิภาวะอันสูงส่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
“รังสิมันต์” เป็นเพียง เจ้าหลวงหนุ่มน้อย อารมณ์ร้อน ขี้โมโห หุนหัน เอาแต่ใจ
เป็นเด็กเกเร ที่ทำอะไรตามความรู้สึกของตัวเองเสมอ

หาก “รังสิมันต์” ก็ฉลาด และรู้หน้าที่รับผิดชอบของตนเอง เมื่อต้องไปเรียนที่อังกฤษ ก็รู้ว่าต้องเรียนการทหาร
ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียนการปกครอง และจบลงที่การทำเหมือง
ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเอื้อประโยชน์ที่สุดให้กับกาสิก ที่เป็นเมืองแห่งเหมืองเพชร
“รังสิมันต์” ทำทุกอย่างเพื่อประชาชนชาวกาสิก ด้วย

You might also like More from author